Translate

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

Many Island in Satun



หมู่เกาะอาดัง-ราวี


 หมู่เกาะอาดัง-ราวี เป็นเกาะกลุ่มสุดท้ายของอุทยานแห่งชาติตะรุเตา และเป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ จึงมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เรือนแถวรับรอง ลานกางเต็นท์ และร้านอาหารที่อยู่ภายใต้การควบคุมของอุทยานฯ และยังมีชายหาดที่สวยงาม มีป่าไม้ที่สมบูรณ์ มีนกป่านานาชนิด รวมทั้งยังมีปะการังน้ำตื้นซึ่งเหมาะสำหรับการดำน้ำแบบสน๊อกเกิ้ล



เกาะไข่

เกาะไข่  เป็นเกาะที่มีหาดทรายขาวเนียนละเอียดและมีช่องหินที่สามารถลอดผ่านได้ อันเป็นปฎิมากรรมปั้นแต่งจากธรรมชาติที่สวยงามจึงได้รับเลือกเป็นเกาะสัญลักษณ์การท่องเที่ยวของจังหวัดสตูล









เกาะหินงาม



เกาะหินงาม เป็นเกาะเล็ก ๆ ที่ไม่มีหาดทรายแต่เป็นหาดที่มีก้อนหิน กรม รี วางเรียงรายอยู่เต็มเกาะ ยามน้ำทะเลซัดขึ้นมาก้อนหินเหล่านี้จะเปียกชุ่ม ส่องประกายมันวาวสะท้อนไปทั่วหาดหิน ยามน้ำลงแนวหาดหินจะปรากฏกว้างยิ่งขึ้นและจะตัดกับน้ำทะเลสีมรกต  ซึ่งเป็นธรรมชาติที่สวยงามที่หาดูได้ยากในที่อื่น ๆ




เกาะยาง

เกาะยาง  เป็นแหล่งดำน้ำชมปะการังและฝูงปลาที่ยอดเยี่ยมที่สุดแห่งหนึ่ง ด้านหน้าเกาะมีหาดทรายขาวนวล น้ำทะเลสีสวย










เกาะดง


เกาะดง เป็นเกาะใหญ่และมีเกาะบริวารเล็ก ๆ ทางทิศใต้อีก 6 เกาะ ภูมิประเทศบนเกาะส่วนใหญ่เป็นโขดหินและหน้าผาสูงชัน มีป่าที่สมบูรณ์ ส่วนเกาะบริวารที่รายรอบนั้นเป็นเกาะหินขนาดเล็ก เช่น เกาะหินซ้อน ซึ่งอยู่ห่างจากเกาะดงประมาณ 200  เมตร ลักษณะโดดเด่นคือ มีก้อนหินตั้งเป็นชั้น ๆ ด้านหน้าเกาะ มีแหล่งดำน้ำตื้นชมปะการังและฝูงปลาได้





เกาะรอกลอย


เกาะรอกลอย  มีจุดเด่นคือ มีชายหาดทรายที่ขาวสะอาด มีลักษณะเป็นแหลมสามเหลี่ยมยื่นออกไปในทะเล มีโขดหินระเกะระกะที่หัวเกาะ เป็นจุดชมวิวที่สวยงาม สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเกาะราวีที่ทอดตัวยาวอยู่ทางขวา

เกาะหลีเป๊ะ

     หลีเป๊ะเพี้ยนมาจากคำภาษามลายู นิปิสแปลว่า บาง”  เป็นชื่อเกาะเล็ก ๆ อยู่ห่างจากเกาะอาดังไปทางทิศใต้ราว 1 กิโลเมตร  มีขนาดเล็กกว่าเกาะอาดังประมาณหนึ่งเท่า  แต่เป็นเกาะที่มีความสำคัญ    เนื่องจากลักษณะของเกาะเป็นที่ราบทั่วไป  ส่วนที่เป็นภูเขามีเพียงเล็กน้อย  เกาะนี้จึงมีผู้คนอาศัยกว่าหนึ่งพันคนเป็นชาวเกาะหรือชาวพื้นเมืองเดิมรู้จักกันในชื่อ ชาวเลหรือชาวน้ำ”  นั่นเอง   มีโรงเรียนตั้งอยู่บนเกาะแห่งนี้  เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงมัธยมปีที่ 3 ชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนบ้านเกาะอาดังชื่อของโรงเรียนจึงไม่สอดคล้องกับชื่อเกาะทุกวันนี้  เกาะหลีเป๊ะกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของอุทยานแห่งชาติตะรุเตา นักท่องเที่ยวได้ไปสัมผัสชีวิตที่เรียบง่ายของชาวเล  ดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีของพวกเขา  พวกชาวเลใช้ภาษาตระกูลออสโตรเนเชียน  บางคำก็ยืมมาจากภาษามลายู  เนื่องจากนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและต่างชาตินิยมไปท่องเที่ยวกันมากในแต่ละปี  ทำให้วิถีชีวิตของชาวเลแตกต่างไปจากเดิม


จุดเด่นของเกาะหลีเป๊ะ  คือ  มีหาดทรายขาวสะอาด  ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก  ซึ่งเป็นที่ตั้งหมู่บ้านชาวเล  ย่านชุมชนใหญ่ของเกาะ  ด้านทิศตะวันตกมีหาดทรายยาวชื่อเรียกเป็นภาษามลายูว่า หาดปะไตดายา”  หรือ หาดลมตะวันตก”  นักท่องเที่ยวชาวตะวันตกเรียกเพี้ยนเป็น พัทยา”   จนติดปากผู้คนไปแล้วเอกชนปลูกสร้างรีสอร์ทไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยว  บริเวณหาดด้านตะวันออกและด้านตะวันตกของเกาะหลีเป๊ะ กิจการท่องเที่ยวจึงเฟื่องฟูมากทุกวันนี้



เกะหลีเป๊ะมีความสวยงามตามธรรมชาติไม่แพ้เกาะอาดัง  รอบ ๆ เกาะอุดมสมบูรณ์ด้วยปะการังหลากสีสัน  นักท่องเที่ยวชอบนำชุดประดาน้ำ  เพื่อดำลงไปชมความงามของปะการังใต้น้ำ  นอกจากนั้น  เกาะหลีเป๊ะมีจุดเด่นตรงที่ยามน้ำลด  จะปรากฏส่วนกว้างใหญ่ของปะการังโผล่ขึ้นมาให้เห็น สามารถลงไปสัมผัสกับปะการังนั้นโดยตรง  ช่วยให้บรรยากาศการท่องเที่ยวน่าตื่นเต้นอย่างยิ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น